http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

เตือนระวัง"อาหารเสริม" ปน"สารไซบูทรามีน"

เตือนระวัง"อาหารเสริม" ปน"สารไซบูทรามีน"

กรมวิทย์ฯ ตรวจพบอาหารเสริมยี่ห้อดัง มีสารปลอมปนไซบูทรามีน  ซึ่งเป็นยาแผนปัจจุบันที่มีผลข้างเคียงอันตราย

          นพ.สุขุม กาญจนพิมาย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกรณีมีการแชร์ผ่านโซเชียลว่ารับประทานอาหารเสริมชื่อดังแล้วมีอาการใจ สั่น นอนไม่หลบ แน่นหน้าอก ชาตามปลายมือ ปลายเท้า จนต้องเข้ารพ. และต่อมามีการส่งต่อข้อมูลผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมชื่อดังยี่ห้อดังกล่าวว่ามีการลักลอบใส่สารไซบูทรามีน ว่า การตรวจวิเคราะห์สารที่อยู่ในอาหารเสริมนั้นมี 2 รูปแบบ คือ 1.กรมวิทย์ฯ ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สำนักงานคณะกรรมการคุมครองผู้บริโภค (สคบ.) สุ่มตรวจผลิตภัณฑ์ในท้องตลาด และ2. ที่ประชาชนส่งเข้ามาให้ศูนย์วิทยาศาสตร์ทั้ง 14 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งอาหารเสริมญี่ห้อดังกล่าวมีประชาชนส่งเข้ามาตรวจเมื่อวันที่ 18 ม.ค. พบว่ามีการปลอมปนของไซบูทรามีน ซึ่งเป็นสารต้องห้าม เพราะเป็นยาแผนปัจจุบันที่มีผลข้างเคียงอันตราย ที่เรากังวลคือทำให้หัวใจวาย ตายได้ ทั้งนี้อาหารเสริมเป็นผลิตภัณฑ์ที่ห้ามใส่ยาแผนปัจจุบัน หากลักลอบใส่จะมีความผิดตามกฎหมาย ทั้งจำคุก 2 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านในกรณีทั่วไปที่ประชาชนเป็นคนส่งมาตรวจนั้น หากพบสารทางเจ้าของผลิตภัณฑ์มักอ้างว่าเป็นของลอกเลียนแบบ ดังนั้นกรณีนี้จะมีการร่วมกับอย.ในการตรวจล็อตอื่นๆ ต่อไปเพื่อให้ทราบผลที่แน่นอน

          อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวต่อว่า ปกติกรมฯ มีหน้าที่ในการตรวจวิเคราะห์อาหารเสริมเหล่านี้ และพบการปลอมปลมตลอด ใน 6 กลุ่มคือ 1. ยารักษาโรคสมรรถภาพทางเพศ 2. ยาลดความอ้วน 3. ยาลดความอยากอาหาร 4. ยาระบายสมัยใหม่ 5. กลุ่มยาสเตียรอยด์ และ 6. ยาออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท อย่างไรก็ตามยาลดน้ำหนักมีการปลอมปนร้อยละ 13

          นพ.สุขุม กล่าวต่อว่า การลดน้ำหนักเป็นสิ่งสำคัญเพราะคนไทยมีปัญหาเรื่องการอ้วน ลงพุง แต่วิธีการที่ดีที่สุดคือ การควบคุมอาหาร ปริมาณที่รับประทานเข้าไปอย่าให้เกินที่ร่างกายต้องการ หลีกเลี่ยงอาหารหวาน มัน พยายามออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 20-45 นาที สัปดาห์ละ 3-5 วัน เพื่อช่วยควบคุมน้ำหนัก ส่วนเรื่องการใช้ยา หรือการทานอาหารเสริม หากจำเป็นจริงๆ หรือมีโรคประจำตัวที่ต้องลดน้ำหนักก็ขอให้พบแพทย์เพื่อให้ได้รับการดูแลที่เหมาะสม

http://www.thaihealth.or.th/Content/41572-เตือนระวัง%22อาหารเสริม%22%20ปน%22สารไซบูทรามีน%22.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 15/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,753,994
Page Views2,019,395
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view